การประชุมระดมความคิดเห็นเพื่อค้นหาองค์ความรู้ที่จำเป็นต่อการปฏิบัติงาน และสอดคล้องต่อการผลักดันยุทศาสตร์ของสำนักฯ และมหาวิทยาลัย ซึ่งได้ลงความเห็นร่วมกันในการจัดการความรู้ เรื่อง องค์ความรู้ที่ซ่อนอยู่ในเรือนโคราช มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา จากนั้นจึงได้ดำเนินการมอบหมายหน้าที่การทำงานอย่างไม่เป็นทางการ และดำเนินการทำคำสั่งการปฏิบัติงานตามระเบียบราชการอีกทางหนึ่งด้วย
   
 
 
 
 
1. การประชุมในระดับบุคลากรสายสนับสนุน เพื่อหาแนวทางในการสร้างและแสวงหาความรู้ตามขั้นตอน km ในขั้นที่ 2 โดยได้ร่วมกันกำหนดกิจกรรมและแบ่งหน้าที่อย่างไม่เป็นทางการ สร้างการพูดคุยโดยเลือกการพูดคุยด้วยบรรยากาศที่ไม่เคร่งเครียด โดยผลจากการพูดคุย ได้แนวทางในการระดมข้อคำถามจากผ้เยี่ยมชม จำนวน 112 ข้อ (ตามอายุของเรือนโคราช) และจะได้กำหนดวันในการทำ Mind Map เพื่อวิเคราะห์ประเภทของข้อคำถามในภายหลัง

2. การแสวงหาองค์ความรู้จากผู้เชี่ยวชาญด้านพิพิธภัณฑ์ จากสถาบันพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติ ให้คำแนะนำเกี่ยวกับเทคนิคการจัดแสดงในเรือนโคราช และการอนุรักษ์วัตถุพิพิธภัณฑ์ (23-24 มี.ค. 2560)

*** สอดคล้องกับงานของ กลุ่มงานหอวัฒนธรรมและศูนย์การเรียนรู้ ในการสร้างเครือข่ายแหล่งเรียนรู้

3. การระดมข้อสงสัยจากผู้เยี่ยมชม โดยการให้ผู้ชมตั้งคำถามแล้วเขียนใส่กระดาษแล้วรวบรวมไว้  
 
4. การศึกษาดูงานเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับผู้มีประสบการณ์ตรง ณ แหล่งเรียนรู้ที่มีลักษณะคล้ายคลึงกัน ณ ห้องไทยนิทัศน์และวัฒนธรรมอาเซียน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี และการพูดคุยอย่างไม่เป็นไม่ทางการ ณ Take Off Cafe
   
5. องค์ความรู้ที่อยู่ในรูปแบบเอกสาร เล่มหลัก คือ เรือนโคราช พ.ศ. 2559 เขียนโดย ศิษย์เก่าโรงเรียนฝึกหัดครู วิทยาลัยครู สถาบันราชภัฏ และมหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา ซึ่งเป็นคณะผู้ทำงานระดมทุนและจัดสร้างเรือนโคราชหลังนี้
 
นำข้อคำถามที่ผู้ชมได้สอบถาม มาจัดให้เป็นระบบ โดยใช้ Mind Map เป็นเครื่องมือ นำเสนอในรูปของร่าง Mind Map และร่างรูปแบบตารางคำถาม-คำตอบ ซึ่งจะสามารถนำเสนอในรูปแบบ Info Graphic ได้ในภายหลังเนื่องจากกระบวนการนี้ใช้เวลาในการจัดทำ
 
เมื่อจัดทำ Mind Map ที่ใช้คอมพิวเตอร์หรือวาดด้วยมือให้มีสีสันสวยงาม อ่านเข้าใจได้ข่ายขึ้น และทำตารางคำถาม-คำตอบเสร็จเรียบร้อย ดำเนินการนำเสนอต่อบุคลากรสายสนับสนุน และผู้บริหารของสำนักศิลปะและวัฒนธรรมเพื่อทำการตรวจสอบความถูกต้องเหมาะสม
Mind Map สรุปจากคำถาม" ผู้ชมอยากรู้อะไรจากเรือนโคราช" จาก Mind Map เป็นต้นทุนผลิตอะไรได้บ้าง ?
 

1. นำเสนอข้อมุลผ่านระบบออนไลน์ ได้แก่ www.koratmuseum.com และ www.koratculture.com

2. ทดลองจัดทำนิทรรศการฉบับชั่วคราว และสังเกตพฤติกรรมของผู้ชมว่ามีความสนองตอบต่อนิทรรศการอย่างไร และให้นำผลกลับไปปรับปรุงอีกครั้ง

   
 

1. ผู้ปฏิบัติงานหลักรายงานผลการสังเกตพฤติกรรมของผู้ชมว่ามีความต้องการไปในทิศทางใด

2. บุคลากรท่านอื่นๆ ร่วมแสดงความคิดเห็นจากประสบการณ์ที่ได้พบ รวมถึงประสบการณ์ในการทำการจัดการความรู้ในครั้งนี้

   
 
 
- นิทรรศการชั่วคราวที่จัดทำขึ้นนั้น จะยังคงติดตั้งและมีการสังเกตผลอยู่เสมอ และทำการปรับปรุงให้สอดคล้องกับความต้องการของผู้ชมทุกช่วงวัยให้ได้มากที่สุด การเรียนรู้จึงเกิดขึ้นจากการสังเกต การใส่ใจในรายละเอียด ก่อให้เกิดผลทางอ้อม คือ จิตสาธารณะที่จะเกิดจากการได้พุดได้คุย
- ในส่วนของนิทรรศการออนไลน์ ยังคงต้องปรับปรุงข้อมูลให้มีความครอบคลุม สนองต่อความต้องการอยู่เสมอ โดยขยายมิติไปในการสร้างจุดแข็งในด้านวิชาการของสถาปัตยกรรมพื้นถิ่น เป็นแหล่งที่อำนวยความสะดวกต่อผู้สนใจในเรือนโคราชที่จะได้มาค้นคว้าในระบบออนไลน์ได้สะดวกยิ่งขึ้น เพื่อสร้างการรับรู้ นำมาสู่การเกิดผู้ชมหน้าใหม่ที่จะหมุนเวียนเข้ามาชมพิพิธภัณฑ์เมืองนครราชสีมา และเรือนโคราช  
 
 

พิพิธภัณฑ์เมืองนครราชสีมา : Korat Museum.
อาคาร 10 ชั้น 2 สำนักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา